วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ประเพณีทอดกฐิน
การทอดกฐิน
ทอดกฐิน คือ กิจกรรมของสงฆ์ก็จะต้องมีการสวดประกาศขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุมสงฆ์ ในการมอบผ้ากฐิน ให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เมื่อทำจีวรสำเร็จแล้วด้วยความร่วมมือของภิกษุทั้งหลาย ก็จะได้เป็นโอกาสให้ได้ช่วยกันทำจีวรของภิกษุรูปอื่นขยายเวลาทำจีวรได้อีก ๔ เดือน ทั้งนี้เพราะในสมัยพุทธกาลการหาผ้า การทำจีวรทำได้โดยยาก ไม่ทรงอนุญาต
ให้เก็บสะสมผ้าไว้เกิน ๑. วัน แต่เมื่อได้ช่วยกันทำสังฆกรรมเรื่องกฐินแล้ว อนุญาตให้แสวงหาผ้า และเก็บผ้าไว้ทำเป็นจีวรได้ จนตลอดฤดูหนาว คือจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๔
ข้อความดังกล่าวมาแล้วข้างต้น จะเห็นว่าความหมายของคำว่ากฐิน มีความเกี่ยวข้องกันทั้ง ๔ ประการ เมื่อสงฆ์ทำสังฆกรรมเรื่องกฐินเสร็จแล้ว และประชุมกันอนุโมทนากฐิน คือแสดงความพอไจว่าได้กรานกฐินเสร็จแล้ว ก็เป็นอันเสร็จพิธี
กฐิน ในปัจจุบัน มีผู้ถวายผ้ามากขึ้น มีผู้สามารถตัดเย็บย้อมผ้าที่จะทำเป็นจีวรได้แพร่หลายขึ้นการใช้ไม้แม่แบบ อย่างเก่าจึงเลิกไป เพียงถวายผ้าขาวให้ตัด เย็บ ย้อม ให้เสร็จในวันนั้น หรือนำผ้าสำเร็จรูปมาถวายก็เรียกว่า "ถวายผ้ากฐิน"
เช่นกัน
ประวัติความเป็นมาของการทอดกฐิน
ไปไหนไม่ต้องบอกลา
ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับสามผืน2 ฉันคณะโภชน์ได้ (ล้อมวงกันฉันภัตตาหารได้) 3
เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้โดยที่ยังมิได้วิกัปป์ และอธิษฐาน โดยไม่ต้องอาบัติ
จีวรลาภอันเกิดขึ้น จักได้แก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว
1) เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา
2) ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบ
3) ฉันคณะโภชน์ได้
4) ทรงอติเรกจีวรได้ตามปรารถนา
5) จีวรอันเกิดขึ้นนั้นจะได้แก่พวกเธอ และได้ขยายเขตอานิสงส์ห้าอีกสี่เดือน นับแต่กรานกฐินแล้วจนถึงวันกฐินเดาะเรียกว่า มาติกาแปด คือ การกำหนดวันสิ้นสุดที่จะได้จีวร คือ กำหนดด้วยหลีกไป กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ กำหนดด้วยตกลงใจ กำหนดด้วยผ้าเสียหาย กำหนดด้วยได้ยินข่าว กำหนดด้วยสิ้นหวัง กำหนดด้วยล่วงเขต กำหนดด้วยเดาะพร้อมกัน
ดังนั้น เมื่อครบวันกำหนดกฐินเดาะแล้ว ภิกษุก็หมดสิทธิ์ต้องรักษาวินัยต่อไป พระสงฆ์จึงรับผ้ากฐินหลังออกพรรษาไปแล้ว หนึ่งเดือนได้ จึงได้ถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมาจนทุกวันนี้
การทอดกฐินในเมืองไทย แบ่งออกตามประเภทของวัดที่จะไปทอด คือ พระอารามหลวง ผ้าพระกฐินที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปถวายด้วยพระองค์เอง หรือโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ไปพระราชทาน เครื่องกฐินทานนี้ จัดด้วยพระราชทรัพย์ของพระองค์เอง เรียกว่า กฐินหลวง ถ้าเสด็จไปพระราชทานยังวัดราษฎร์ด้วย นิยมเรียกว่า กฐินต้น
การทอดกฐินในปัจจุบัน ถือว่าเป็นทานพิเศษ กำหนดเวลาปีหนึ่งทอดถวายได้เพียงครั้งเดียว กำหนดชนิดของกฐินมี 2 ลักษณะ คือ
1. "จุลกฐิน" การทำจีวร พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบท ทุกฝ่ายต้องช่วยกันทำให้เสร็จภายในกำหนด 1 วัน ทำฝ้าย ปั่น กรอ ตัด เย็บ ย้อม ทำให้เป็นขันธ์ได้ขนาดตามพระวินัย แล้วทอดถวายให้เสร็จในวันนั้น
2. "มหากฐิน" คือ อาศัยปัจจัยไทยทานบริวารเครื่องกฐินจำนวนมาก สำหรับเป็นทุนบำรุงวัด ปัจจุบันนิยมเรียกกันว่า กฐินสามัคคี
พิธีการทอดกฐิน
สำหรับการจองกฐิน หมายถึงการแสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษร หรือด้วยวาจาต่อทางวัดว่าจะนำกฐินมาถวาย ตามแต่จะตกลงกัน แต่จะต้องภายในเขตเวลา 1 เดือน ตามที่กำหนดในพระวินัย (ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12)
วัดราษฎร์ทั่วไป นิยมทำเป็นหนังสือจองกฐินไปติดต่อประกาศไว้ยังวัดที่จะทอดถวาย เป็นการเผดียงสงฆ์ให้ทราบวันเวลาที่จะไปทอด หรือจะไปนมัสการเจ้าอาวาสให้ทราบไว้ก็ได้
ส่วนการขอพระราชทานผ้าพระกฐินไปทอด ณ พระอารามหลวงให้แจ้งกรมการศาสนา เพื่อขึ้นบัญชีไว้กราบบังคมทูลและแจ้งให้วัดทราบ ในทางปฏิบัติผู้ขอพระราชทานจะไปติดต่อกับทางวัดในรายละเอียดต่างๆ จนก่อนถึงวันกำหนดวันทอด จึงมารับผ้าพระกฐินและเครื่องกฐินพระราชทานจากกรมการศาสนา
พิธีกรานกฐินเป็นพิธีฝ่ายภิกษุสงฆ์โดยเฉพาะ คือ ภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐิน นำผ้ากฐินไปทำเป็นไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่ง เย็บ ย้อม แห้ง เรียบร้อยดีแล้ว เคาะระฆัง ประชุมกันในโรงพระอุโบสถ
ภิกษุผู้รับผ้ากฐิน ถอนผ้าเก่าอธิษฐานผ้าใหม่ที่ตนได้รับนั้นเข้าชุดเป็นไตรจีวร เสร็จแล้ว ภิกษุรูปหนึ่ง ขึ้นสู่ธรรมาสน์แสดงพระธรรมเทศนา กล่าวคือเรื่องประวัติกฐินและอานิสงส์ครั้งแล้วภิกษุผู้รับผ้ากฐิน นั่งคุกเข่าตั้งนะโม 3 จบ แล้วเปล่งวาจาในท่ามกลางชุมนุมนั้น ตามลักษณะผ้าที่กรานดังนี้
ถ้าเป็นผ้าสังฆาฏิ เปล่งวาจากรานกฐินว่า "อิมายะ สังฆาฏิยา กะฐินัง อัตถะรามิ" แปลว่า ข้าพเจ้ากรานกฐินด้วยผ้าสังฆาฏินี้ 3 จบ
ถ้าเป็นผ้าอุตตราสงค์เปล่งวาจากรานกฐินว่า "อิมินา อุตตะราสังเคนะ กะฐินัง อัตถะรามิ" แปลว่า ข้าพเจ้ากรานกฐิน ด้วยผ้าอุตตราสงค์นี้ 3 จบ
ถ้าเป็นผ้าอันตรวาสก (สบง) เปล่งวาจากรานกฐินว่า "อิมินา อันตะระวาสะเกนะ กะฐินัง อัตถะรามิ" แปลว่าข้าพเจ้ากรานกฐิน ด้วยผ้าอันตรวาสกนี้ 3 จบ
ลำดับนั้น พระสงฆ์นั่งคุกเข่าพร้อมกันแล้วกราบพระ 3 หน ตั้งนะโมพร้อมกัน 3 จบ แล้วท่านผู้ได้รับผ้ากฐินหันหน้ามายังกลุ่มภิกษุสงฆ์ กล่าวคำอนุโมทนาประกาศดังนี้
"อัตถะตัง อาวุโส สังฆัสสะ กะฐินัง ธัมมิโก กะฐินัตถาโร อะนุโมทามิ" 3 จบ (แปลว่า อาวุโส! กฐินสงฆ์กรานแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม ข้าพเจ้าขออนุโมทนา)
คำว่า อาวุโส นั้น ถ้ามีภิกษุอื่นซึ่งมีพรรษามากกว่าภิกษุผู้ครองกฐินแม้เพียงรูปเดียวก็ตาม ให้เปลี่ยนเป็น ภันเต
ต่อจากนั้น พระสงฆ์ทั้งปวงรับว่า สาธุ พร้อมกันแล้วให้ภิกษุทั้งปวง อนุโมทนาเรียงองค์กันไปทีละรูปๆ ว่า "อัตถะตัง ภันเต สังฆัสสะ กฐินะธัมมิโก กะฐินัตถาโร อะนุโมทามิ" 3 จบ พระสงฆ์ทั้งปวงรับว่า สาธุ ทำดังนี้ จนหมดภิกษุผู้ประชุมอนุโมทนา
หากใครยังไม่ค่อยเข้าใจสามรถดูในวิดีโอนี้ได้ครับ
วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
My profile
สวัสดีครับผม นายบีเวอร์ขอยินดีต้อนรับสู่เว็บของผมนะครับ
ผมขอแนะนำตัวเองก็นะครับ :)
ชื่อ-นามสกุล : เด็กชายวิชญะ ก่อเจริญสกุล
ชื่อเล่น : นิว
วันเดือนปีเกิด : วันที่ 3 มกราคม 25xx
อายุ :1x ปี
หมู่เลือด: B
ศาสนาที่นับถือ : พุทธศาสนา
ศึกษาอยู่ที่ : โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี)
ห้อง/เลขที่ : ม.3/6 เลขที่20
งานอดิเรก : เลี้ยงปลา ปลูกต้นไม้ ฟังเพลง สวดมนต์
สีที่ชอบ : สีเขียว
คำคมที่ชอบ : หมากรุกยังต้องคิด หมากชีวิตไม่คิดได้ไง
E - mail : i.am.bever123@gmail.com
ฉายา : บีเวอร์
ศิลปินที่ชอบ : miranda lambert
ในวันที่เราประสบความสำเร็จในทุกๆด้าน เราอาจจะต้องขอบคุณบ้าน บ้านที่ซึ่งสร้างเราขึ้นมา จนทำให้เรามีทุกวันนี้
ลองฟังดูนะครับ The house that built me - miranda lambert
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)