วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การ์ดวันคริสมาสต์


การ์ดวันพ่อ


วันรัฐธรรมนูญ


ประวัติและความเป็นมาของวันรัฐธรรมนูญ
 

รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ
วันรัฐธรรมนูญ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย
ความเป็นมา
การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
1. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย
2. หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ
3. อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
4. รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร
จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ

วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎร ทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ
1. พระมหากษัตริย์
2. สภาผู้แทนราษฎร
3. คณะกรรมการราษฎร
4. ศาล

ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่างๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้ สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดี ให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม
 

จนกระทั่งถึง วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบ สภาผู้แทนได้ หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญ ของรัฐที่มีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎร เลือกตั้งใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรง อยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ
 
อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองตั้งแต่ พ.ศ. 2475 มาจนถึงปัจจุบันรัฐธรรมนูญไทยมีทั้งสิ้นประมาณ 25 ฉบับ แต่ถ้านับเฉพาะฉบับที่สำคัญจะมีเพียง 18 ฉบับดังนี้

ฉบับที่ 1. ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พุทธศักราช 2427 ประกาศใช้บังคับเมื่อ วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 5 เดือน 13 วัน
ฉบับที่ 2. รัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ประกาศใช้บังคับเมื่อ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 13 ปี 5 เดือน
ฉบับที่ 3. รัฐธรรมนูญฉบับราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รวมอายุการประกาศและการบังคับใช้ 1 ปี 5 เดือน 28 วัน
ฉบับที่ 4. รัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รวมอายุการประกาศใช้ 1 ปี 4 เดือน 14 วัน
ฉบับที่ 5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 ประกาศและบังคับใช้เมื่อ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2492 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 2 ปี 8 เดือน 6 วัน
ฉบับที่ 6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 ประกาศและบังคับใช้ วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2495 รวมอายุและประกาศบังคับใช้ 6 ปี 7 เดือน 12 วัน
ฉบับที่ 7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2502 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 9 ปี 4 เดือน 20 วัน
ฉบับที่ 8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 3 ปี 4 เดือน 20 วัน
ฉบับที่ 9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2515 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้เมื่อ วันที่ 15 ธันวาคม 2515 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 1 ปี 9 เดือน 22 วัน
ฉบับที่ 10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2517 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 2 ปี
ฉบับที่ 11. รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2519 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 1 ปี
ฉบับที่ 12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 1 ปี 13 วัน
ฉบับที่ 13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2528)
ฉบับที่ 14. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
ฉบับที่ 15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
ฉบับที่ 16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
ฉบับที่ 17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2549 (ฉบับชั่วคราว)
ฉบับที่ 18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (รัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ)
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

     อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นอนุสรณ์ถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากเดิมแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นแบบประชาธิปไตย เมื่อปี พ.ศ.2475 โดยสิ่งก่อสร้างที่เป็นองค์ประกอบของอนุสาวรีย์ มีความหมายตามสัญลักษณ์ต่าง ๆ ดังนี้
1. พาน รัฐธรรมนูญ มีความสูง 3 เมตร สื่อถึงอำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ( อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ) ภายใต้รัฐธรรมนูญ
2. พระขรรค์ทั้ง 6 (ที่ติดอยู่ตรงฐานทรงกลมใต้พาน) หมายถึง หลัก 6 ประการ ที่เป็นนโยบายในความเสมอภาค เสรีภาพ เศรษฐกิจ การศึกษา และเอกราช
3. ปีก 4 โดยรอบอนุสาวรีย์ แต่ละปีกมีความสูง 24 เมตร สื่อถึงวันที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คือวันที่ 24 มิถุนายน 2475
4. ภาพนูนต่ำบนฐานทั้ง 4 ของปีก แสดงให้เห็นถึงภาพเหตุการณ์และความพร้อมเพรียงในการปฏิบัติการของคณะปฏิวัติ
5. ปืน ใหญ่จำนวน 75 กระบอก (ปากกระบอกปืนฝังลงดิน) โดยรอบฐานของอนุสาวรีย์ที่มีโซ่เหล็กร้อยไว้ หมายถึงปีที่ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (เลข 75 เป็นเลขท้ายสองหลักของปี พ.ศ.2475 ) ส่วนโซ่ที่ร้อยไว้ด้วยกัน หมายถึงความสามัคคีพร้อมเพรียงของคณะปฏิวัติ

วันพ่อแห่งชาติ

     

วันพ่อแห่งชาติ


UploadImage

ประวัติความเป็นมา และความสำคัญของวันพ่อแห่งชาติ


วันพ่อแห่งชาติ 

         ใกล้จะถึงวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคมนี้แล้วนะคะ หลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้จักวันพ่อแห่งชาติดีเท่าที่ควร วันนี้ศูนย์ข่าวการศึกษาไทยจึงอยากให้ทุกคนได้รู้จักวันพ่อแห่งชาติลึกซึ้งมากขึ้นค่ะ

          จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (ราชบัณฑิตยสถาน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หน้า 587) พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า พ่อ หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกชายผู้ให้กำเนิดตน ในทางพุทธศาสนา ได้ให้ความหมายของคำว่า “พ่อ” หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูกมีใช้หลายคำ เช่น บิดา (พ่อ) ชนก (ผู้ให้กำเนิด) สามี (ของแม่) เป็นต้น
 

UploadImage

         วันพ่อแห่งชาติ  5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางราชการได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการหนึ่งวัน เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้ร่วมกันเฉลิมฉลองในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและถือเป็นวันพ่อแห่งชาติ อีกวันหนึ่งด้วย

         วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือวันพ่อแห่งชาติ มีความเป็นมาของวันสำคัญ คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาล เมาท์ ออเบิร์น นครบอสตัน สหรัฐอเมริกา โดยนายแพทย์วิทท์มอร์เป็นผู้ถวายการประสูติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 9 แห่งบรมจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจและเจริญพระราชจริยาวัตรเป็นเอนกประการจำเนียรกาลผ่านมาถึงปัจจุบันที่สุดจะพรรณนาให้ครบถ้วนได้ท่ามกลางมหาสมาคมวันพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกทรงมีกระแสพระราชดำรัสที่ พสกนิกรทุกคนยังจดจำได้ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม” อันคำว่าโดย “ธรรม” นั้น ทรงหมายถึง ธรรมอันล้ำเลิศที่เรียกว่า “ทศพิธราชธรรม” หรือที่เรียกกันโดยสามัญว่า “ราชธรรม 10 ประการ”

         ราชธรรม 10 ประการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยึดมั่นทรงปฏิบัติโดยเคร่งครัด และส่งผลถึงพสกนิกรทั่วพระราชอาณาจักรนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเหนือเกล้าฯ ห่วงใยตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งพระเจ้าหลานเธอทุกพระองค์ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น “พ่อ” ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้


กิจกรรมที่ควรปฏิบัติในวันพ่อแห่งชาตินี้

1. ในวันพ่อแห่งชาติเราควรประดับธงชาติไทยที่อาคารบ้านเรือน

2. จัดพิธีศาสนสงฆ์ ทำบุญใส่บาตร อุทิศเป็นพระราชกุศล น้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล

3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล




UploadImage


วันพ่อแห่งชาติเกิดขึ้นได้อย่างไร

      วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่มหลักการและเหตุผลในการจัดตั้งวันพ่อแห่งชาติ พ่อเป็นผู้มีพระคุณที่มีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น “วันพ่อแห่งชาติ” ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงรักใคร่และให้ดอกพุทธรักษาเป็นสัญลักษณ์ วันพ่อแห่งชาติ

         ด้วยพ่อเป็นบุคคลผู้มีพระคุณ มีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพ เทิดทูน และตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสังคมควรที่จะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อนี่เป็นที่มาของการจัดให้มี วันพ่อแห่งชาติ
วัตถุประสงค์ของวันพ่อแห่งชาติ 4 ประการ คือ

1.       เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

2.       เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม

3.       เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อ

4.       เพื่อให้ผู้เป็นพ่อ สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน
 



ดอกไม้ประจำวันพ่อแห่งชาติ

UploadImage

         ดอกพุทธรักษาสีเหลือง เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำวันพ่อแห่งชาติ “พุทธรักษา” ซึ่งหมายถึง พระพุทธเจ้าทรงปกป้องคุ้มครอง ให้มีแต่ความสงบสุขร่มเย็น ซึ่งมีเรียกกันมากว่า 200 ปี และสีเหลืองอันเป็นสีประจำวัน พระราชสมภพขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของปวงชนชาวไทย การมอบดอกพุทธรักษาให้กับพ่อ จึงเสมือนกับการบอกถึง ความรักและเคารพบูชาพ่อ ผู้สร้างความสงบสุขร่มเย็นให้แก่ครอบครัว

     คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นพุทธรักษาไว้ประจำบ้านจะช่วยปกป้องคุ้มครอง ไม่ให้มีเหตุร้ายหรืออันตรายเกิดแก่บ้านและผู้อาศัย


UploadImage

บทบาทของพ่อ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรุปบทบาทหน้าที่ของพ่อและแม่ไว้ 5 ข้อ

 1.       กันลูกออกจากความชั่ว

 2.       ปลูกฝังลูกไว้ในทางที่ดี

 3.       ให้ลูกได้รับการศึกษาเล่าเรียน

 4.       ให้ลูกได้แต่งงานกับคนดี

 5.       มอบทรัพย์มรดกให้เมื่อถึงการณ์อันควร


         หลังจากที่ได้รู้ความเป็นมาของวันพ่อแห่งชาติ ว่ามีความเป็นมาอย่างไร ศูนย์ข่าวการศึกษาไทยมีเพลงเพลงนึงที่มีความหมายดีๆ เกี่ยวกับพ่อหลวงของเรามาฝากค่ะ ชื่อเพลงรูปที่มีทุกบ้าน เป็นเพลงเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ประพันธ์คำร้องโดย นิติพงษ์ ห่อนาค ทำนองโดย อภิไชย เย็นพูนสุข เรียบเรียงเสียงประสานโดย วีรภัทร์ อึ้งอัมพร และขับร้องโดย ธงไชย แมคอินไตย์

วันคริสมาสต์



วันคริสต์มาส


    วันคริสต์มาส คือ การฉลองวันประสูติของพระเยซูผู้เป็นศาสดาสูงสุดของชาวคริสต์ทั่วโลก เป็นวันฉลองที่มีความสำคัญ และมีความหมายมากที่สุดวันหนึ่ง เพราะชาวคริสต์ถือว่า พระเยซูมิใช่เป็ แต่เพียงมนุษย์ธรรดาๆ ที่มาเกิดเหมือนเด็กทั่วไป แต่พระองค์เป็นบุตรของพระเจ้าผู้สูงสุด และมีพระธรรมชาติเป็น พระเจ้า และเป็นมนุษย์ในพระองค์เอง การบังเกิดของพระองค์ จึงเป็นเหตุการณ์ พิเศษ ที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือนด้วย 


ประวัติการประสูติพระเยซูเจ้า 
ในเวลานั้น จักรพรรดิออกัสตัส รับสั่งให้ราษฎรทุกคน ในอาณาจักรโรมัน ไปลงทะเบียนสำมะโน ประชากร โยเซฟและมารีย์ ซึ่งมีครรภ์แก่จึงต้องเดินทางไปยังเมืองเบธเลเฮม อันเป็นเมืองที่กษัตริย์ดาวิดประสูติ พอดีถึงกำหนดที่มารีย์จะคลอดบุตร เธอก็ได้คลอดบุตรชายหัวปี เธอเอาผ้าพันกายพระกุมารแล้ววางไว้ใน รางหญ้า เนื่องจากตามโรงแรมไม่มีที่พักเลยคืนนั้นทูตสวรรค์ของพระเจ้า ปรากฎแก่พวกเลี้ยงแกะ พวกเขาตกใจกลัวมาก แต่ทูตสวรรค์ปลอบพวกเขาว่า "อย่ากลัวไปเลย เพราะเรานำข่าวดีมาบอก คืนนี้เอง ในเมืองของกษัตริย์ ดาวิด มีพระผู้ช่วยให้รอดประสูติ พระองค์นั้นเป็นพระคริสต์พระเป็นเจ้า นี่จะเป็น หลักฐานให้พวกท่านแน่ใจคือ พวกท่านจะพบพระกุมารมีผ้าพันกาย นอนอยู่ในรางหญ้า" 
ทันใดนั้น มีทูตสวรรค์อีกมากมาย ร้องเพลง สรรเสริญ พระเจ้าว่า " Gloria in Excelsis Deo ขอเทิด พระเกียรติพระเจ้าผู้สถิตย์ในสวรรค์ชั้นสูงสุด สันติสุขบนพิภพจงเป็นของผู้ที่พระองค์ทรงพอพระทัย 


ทำไมจึงฉลองคริสต์มาสวันที่ 25 ธันวาคม 
ตามหลักฐานในพระคัมภีร์ (ลก.2:1-3) บันทึกไว้ว่าพระเยซูเจ้าบังเกิด ในสมัยที่จักรพรรดิซีซ่าร์ออกัสตัส ให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยมีคีรินิอัสเป็นเจ้าครองเมืองซีเรีย ซึ่งในพระคัมภีร์ไม่ได้บอกว่า เป็นวัน หรือเดือนอะไร แต่นักประวัติศาสตร์ให้เหตุผลว่า ทื่คริสตชน เลือกเอาวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันฉลองคริสต์มาส ตั้งแต่ ศตวรรษที่ 4 เป็นต้นมา เนื่องจาก ในปี ค.ศ. 274 จักรพรรดิเอาเรเลียน ได้กำหนดให้วันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันฉลอง วันเกิดของสุริยเทพผู้ทรงพลัง ชาวโรมันฉลองวันนี้อย่างสง่า และถือเสมือนว่าเป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะพระจักรพรรดิก็เปรียบเสมือน ดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์
คริสตชนที่อยู่ในจักรวรรดิ โรมันรู้สึกอึดอัดใจที่จะฉลอง วันเกิดของสุริยเทพตามประเพณีของ ชาวโรมัน จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้าแทน จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 330 จึงเริ่มมีการฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการ และอย่างเปิดเผย เนื่องจากก่อนนั้น มีการเบียดเบียนศาสนาอย่างรุนแรง (ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 64-313) ทำให้คริสตชนไม่มีโอกาสฉลองอะไรอย่างเปิดเผย 


ความสำคัญของวันคริสต์มาส 
คริสต์มาส เป็นวันที่มีความสำคัญอย่างยิ่งวันหนึ่งในศาสนาคริสต์ มิใช่เป็นวันสำคัญฝ่ายร่างกายจัดงาน รื่นเริงภายนอกเท่านั้น ซึ่งเป็นแต่เพียงเปลือกนอกของการฉลองคริสต์มาส แต่แก่นแท้อยู่ที่ความรัก ของพระเจ้าที่ มีต่อโลกมนุษย์ นั่นคือ พระเจ้าทรงรักมนุษย์ มากจน ถึงกับยอมส่งพระบุตรแต่องค์เดียว ของพระองค์ ให้มาเกิดเป็น มนุษย์ มีเนื้อหนังมังสา ชื่อว่า "เยซู" 
การที่พระเจ้าได้ถ่อมองค์และเกียรติลงมาเกิดเป็นมนุษย์ เพื่อช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากการเป็นทาส ของความชั่ว และบาปต่างๆ นั่นเอง
ดังนั้นความสำคัญของวันคริสต์มาสจึงอยู่ที่การฉลองความรักที่พระเจ้ามีต่อโลกมนุษย์ อย่างเป็นจริง เป็นจัง และเห็นตัวตนในพระเยซูคริสต์ที่มาเกิดเป็นมนุษย์ มากกว่าสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น 


ประวัติวันคริสต์มาส 
คริสต์มาส คือการฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้า เรา เฉลิมฉลองกันในวันที่ 25 ธันวาคม คำว่า คริสต์มาส เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ Christmas ซึ่งมาจากภาษาอังกฤษ โบราณว่า Christes Maesse ที่แปลว่า บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า เพราะการร่วมพิธีมิสซาเป็นประเพณีสำคัญที่สุดที่ชาวคริสต์ ถือปฎิบัติกันในวันคริสต์มาส 
คำว่า Christes Maesse พบครั้งแรก ในเอกสารโบราณ เป็นภาษาอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1038 และคำนี้ก็แปรเปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas คำทักทายที่เราได้ฟังบ่อย ๆ ในเทศกาลนี้คือ Merry Christmas คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า สันติสุข และความสงบทางใจ 

เพราะฉะนั้นคำนี้จึงเป็นคำที่ใช้อวยพรคนอื่น ขอให้เขาได้รับสันติสุขและความสงบ ทางใจ 
เนื่องใน โอกาสเทศกาลคริสต์มาส ส่วนภาษาไทยใช้อวยพรด้วยประโยคว่า "สุขสันต์วันคริสต์มาส
Merry Christmas " 


การร้องเพลงคริสต์มาส
เพลงคริสต์มาสที่เรานิยมร้องมากที่สุดในปัจจุบันได้แต่งขึ้นในศตวรรษที่ 19 จากประเทศอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ เพลงที่มีเสียงมากได้แก่ Silent Night, Holy Night เป็นภาษาไทยว่า "ราตรีสวัสดิ์ คืนอันศักดิสิทธ์ " 

ความเป็นมาของเพลงนี้คือ วันก่อนวัน คริสต์มาส ของปี ค.ศ. 1818 คุณพ่อ Joseph Mohr เจ้าอากาสวัดที่ Oberndorf ประเทศออสเตรเลีย ได้ข่าวว่าออร์แกนในวัดเสีย ทำให้วงขับไม่สามารถร้องเพลงตามที่ซ้อมไว้ได้ คุณพ่อเองตั้งใจจะแต่งเพลงคริสต์มาส หลังจากแต่งเสร็จก็เอาไปให้เพื่อนคนหนึ่งชื่อ Franz Gruber ที่อยู่หมู่บ้านใกล้เคียงใส่ทำนองในคืนวันที่ 24 นั้นเอง สัตบุรุษวัดใกล้ก็ได้ฟังเพลง Silent Night เป็นครั้งแรก โดยการเล่นกีตาร์ประกอบการขับร้อง ซึ่งกลายเป็นเพลงที่นิยมมากที่สุดทั่วโลก


เทียนและพวงมาลัย 
ในสมัยก่อนมีกลุ่มคริสตชนกลุ่มหนึ่งในเยอรมัน ได้เอากิ่งไม้มาประกอบเป็นวงกลมคล้ายพวงมาลัย แล้วเอาเทียน 4 เล่ม วางไว้บนพวงมาลัยนั้นในตอนกลางคืนของวันอาทิตย์แรกของเทศกาลเตรียมรับเสด็จ ทุกคนในครอบครัวจะมารวมกัน ดับไฟ แล้วจุดเทียนเล่มหนึ่ง สวด ภาวนาและร้องเพลงคริสต์มาสร่วมกัน เขาจะทำดังนี้ทุกอาทิตย์จนครบ 4 อาทิตย์ก่อนคริสต์มาส ประเพณีนี้เป็นที่นิยมและแพร่หลายในที่หลายแห่ง โดยเฉพาะที่สหรัฐอเมริกา
ซึ่งต่อมามีการเพิ่ม โดยเอาพวงมาลัยพร้อมกับเทียนที่จุดไว้ตรงกลาง 1 เล่มไปแขวนไว้ที่หน้าต่างเพื่อช่วย ให้คนที่ผ่านไปมา ได้ระลึกถึงการเตรียมตัวรับวันคริสต์มาสที่ใกล้เข้ามา และพวงมาลัยนั้นยังเป็นสัญลักษณ์ที่คน สมัยโบราณใช้หมายถึงชัยชนะ แต่ในที่นี้หมายถึงการที่พระองค์มาบังเกิดในโลก และทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างครบ บริบูรณ์ตามแผนการณ์ของพระเป็นเจ้า


การทำมิสซาเที่ยงคืน 
เมื่อพระสันตะปาปาจูลีอัสที่1 ได้ประกาศให้วันที่ 25 ธันวาคมเป็นฉลองพระคริสตสมภพ (วันคริสต์มาส) แล้วในปี นั้นเองพระองค์และสัตบุรุษได้พากันเดินสวดภาวนา และขับร้องไปยังตำบลเบธเลเฮม ยังถ้ำที่พระเยซูเจ้าประสูติ 
พอไปถึงก็เป็นเวลาเที่ยงคืน พระสัน ตะปาปาก็ทรงถวายบูชา ณ ที่นั้น เมื่อเสร็จแล้วก็กลับมาที่พัก เป็นเวลาเช้ามืดราวๆ ตี 3 พระองค์ก็ถวายมิสซาอีกครั้ง และสัตบุรุษเหล่านั้นก็พากันกลับ แต่ก็ยังมีสัตบุรุษหลายคนที่ไม่ได้ไป พระสันตะปาปาก็ทรงถวายบูชามิสซาอีกครั้งหนึ่งเป็นครั้งที่ 3 เพื่อ สัตบุรุษเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้เองพระสันตะปาปาจึงทรงอนุญาตในพระสงฆ์ถวายบูชามิสซาได้ 3 ครั้ง ในวันคริสต์มาส เหมือนกับการปฏิบัติ ของพระองค์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจึงมี ธรรมเนียมถวายมิสซาเที่ยงคืน ในวันคริสต์มาส และพระสงฆ์ก็สามารถถวายมิสซาได้ 3 มิสซา ใน โอกาสวันคริสต์มาสเช่นเดียวกัน 


ซานตาครอส 
ตัวจริงของซานตาครอส คือ นักบุญนิโคลัสซึ่งเป็นบาทหลวงในตุรกี ช่วงคริสต์ศตวรรษที่สี่ ผู้ขึ้นชื่อในเรื่องความใจดี โดยเฉพาะกับเด็กๆ ต่อมาท่านเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั่วฮอลแลนด์ในชื่อ "ซินเตอร์คลาส" ราวค.ศ.1870 ชาวอเมริกันเรียกชื่อเพี้ยนไปเป็น"ซานตาคลอส" ตั้งแต่แรกจนถึงค.ศ. 1890 

ภาพของซานตาคลอสเป็นชายร่างผอมสูงสวมชุดสีเขียว หรือน้ำตาลสลับแดง เจนนี ไนสตรอม ศิลปินชาวสวีเดน เป็นผู้คิดค้นรูปลักษณ์ของซานตาครอสอย่างที่เห็นกันในปัจจุบัน โดยวาดภาพลงในบัตรอวยพรคริสต์มาส ภาพเหล่านี้ได้รับความนิยมไปทั่วโลก เมื่อชาวสวีเดนอีกคนชื่อ แฮดดอน ซันด์บลอม นำภาพวาดของไนสตรอมสวมชุดขาว